วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


                                                            การอยู่ค่ายพักแรม 

   การอยู่ค่ายพักแรมถือว่าเป็นการจัดขึ้นเพื่อการนันทนาการ ซึ่งมีประวัติความเป็นมานานแล้ว  ปัจจุบันมีผู้สนใจมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการลูกเสือในโรงเรียนมักจะจัดให้ลูกเสือไปเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรม  เพื่อเป็นการทดสอบทักษะวิชาลูกเสือ 
และผ่อนคลายความตึงเครียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมสุดยอดของการลูกเสือ
วิชาการอยู่ค่ายพักแรมเป็นวิชาที่สอนให้ลูกเสือรู้จักช่วยตนเองได้ดีที่สุด เพราะลูกเสือจะต้องทำทุกอย่างได้ด้วยตนเอง
และจะต้องช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน เช่น การประกอบอาหาร ลูกเสือจะต้องทำเองทุกอย่างและมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติภายในหมู่ด้วย
ลูกเสือจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย



ลักษณะของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในการอยู่ค่ายพักแรมมีดังต่อไปนี้

1.  อาจเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางไปอยู่ค่ายพักแรม
2.  อาจเกิดฟ้าผ่า ถ้าหากเลือกฤดูกาลไม่เหมาะสมและปลอดภัย
3.  ถูกของมีคม
4.  อาจได้รับอันตรายจากสัตว์ร้าย หรือสัตว์มีพิษกัดต่อย
5.  อาหารเป็นพิษ ถ้าจัดเตรียมไม่ดี
6.  ข้อเท้าแพลง, แผลถลอก, หนามข่วน
7.  พลัดตกหกล้ม กระดูกหัก
8.  เป็นลมแดด ลมร้อน
9.  เป็นตะคริวที่ขาหรือส่วนอื่นของร่างกาย
10.  อาจจมน้ำตายถ้าลงไปในแหล่งน้ำลึก
11.  อาจถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก ขณะใช้ไฟหุงหาอาหาร



















                                                                    การปฐมพยาบาล






ตะคริว
สาเหตุ
  • ใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นหนักเกินไป
  • ความหนาวเย็น
  • การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (อาเจียน ,ท้องเสีย ,เหงื่อออก)

การปฐมพยาบาล
  1. ยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นออกโดย
    • เป็นที่มือ : ยึดนิ้วมือ ดัดปลายนิ้ว
    • เป็นที่เท้า : ยืดนิ้วเท้า ให้ยืนเขย่ง
    • เป็นที่ต้นเท้า : นั่งลง , เหยียดเท้า ,กดที่หัวเข่าปละช่วยนวดเท้า
    • เป็นที่น่อง : นั่งลง ,ยืดขา
  2. ถ้าเป็นเพราะเหงื่อ เสียน้ำให้ดื่มน้ำเกลือ (เกลือ 1 ช้อนชา ผลมน้ำ 1 ขวดแม่โขง)

ข้อเคล็ด
การปฐมพยาบาล
  1. ให้บริเวณข้อนั้น ๆ อยู่นิ่ง ๆ และยกสูงไว้
  2. ประคบน้ำแข็งทันที เพื่อลดอาการบวม ,ปวด
  3. ถ้าภายหลังมีอาการบวมให้ประคบด้วยน้ำร้อน หรือนวดด้วยยาหม่อง หรือน้ำมันระกำ
  4. ถ้าปวดมาก บวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์

            ก้างติดคอ  
         การปฐมพยาบาล
  1. กลืนก้อนข้าวสุก หรือขนมปังนิ่ม ๆ
  2. ถ้ายังไม่หลุด กลืนน้ำส้มสายชูเจือจางเพื่อให้ก้างอ่อนลง
  3. ถ้าไม่หลุด ควรไปพบแพทย์






                                                                       เงื่อนเชือก
1.เงื่อนตะกรุดเบ็ด clove knot 

เป็นเงื่อนที่นิยมใช้ในการกางเต็นท์ สำหรับยึดมุมของเต็นท์ หรือการผูกวัตถุไว้กับหลัก เช่น การจอดเรือ
 2. เงื่อนประมง fisherman's knot 

เป็นเงื่อนที่ผูกเพื่อต่อเชือกสองเส้นที่มีขนาดเดียวกัน และเป็นเงื่อนที่ทนต่อการดึงหรือลากได้เป็นอย่าง

3. เงื่อนลาก mannarness hitch 
เป็นเงื่อนบ่วงไว้ใช้สำหรับลากของหนักหรือคล้องกับหลัก

 4. เงื่อนบ่วงธนูสำหรับปีนที่สูง climber's bowling 
เป็นเงื่อนที่ใช้ในการปีนที่สูง เช่น ในการปีนเขา เป็นต้น ซึ่งมักจะใช้คู่กับเงือนชะ?งัก เสมอ เงื่อนบ่วงธนูชนิดนี้ ผูกได้อย่างรวดเร็ว แก้ออกได้ง่าย แต่ในระหว่างใช้งานนั้นมันจะไม่คลายตัวออก
 5. เงื่อนบ่วงบาศ running bowling 

เป็นเงื่อนที่ใช้ทำบ่วงที่แน่นหนา มั่นคง ผูกง่าย และรูดเพื่อขยายบ่วงง่ายด้วย เงื่อนนี้ใช้ทำบ่วงบาศเพื่อคล้องสัตว์, ทำกับดัก, ใช้แขวนสิ่งของ หรือผูกคล้องกับหลัก










                                                ประวัติลูกเสือโลก












 กิจการลูกเสือโลกเป็นขบวนการฝึกอบรมเยาวชนที่กว้างขวางไปทั่วโลก และกำลังก้าวหน้ารุ่งเรืองขึ้นไป มีสมาชิกลูกเสือมากกว่า 16 ล้านคน ใน 150 ประเทศ และดินแดนต่างๆ การลูกเสือเป็นขบวนการอาสาสมัคร ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และเป็นการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เปิดบริการเพื่อคนต่างวัยต่างวุฒิทั่วไป วัตถุประสงค์ของการลูกเสือก็เพื่อช่วยบุคคลในการพัฒนาตนเองทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และคุณธรรม    ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ แห่ง กิลเวลล์ ซึ่งสมาชิกในวงการลูกเสือโลก เรียกชื่อของท่านว่า บี.พี. ท่านเป็นชาวอังกฤษ เกิดในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400
การทดลองการฝึกอบรมเด็กชายของ บี.พี.
        ในปี พ.ศ. 2450 ขณะนั้น บี.พี. มีอายุ 50 ปี ครบเกษียณอายุราชการ จึงปลดเป็นทหารกองหนุนและได้รับยศเป็น นายพลโท บี.พี. ได้เริ่มทดลองการฝึกอบรมเด็กชายเพื่อให้เป็นพลเมืองดีตามแบบใหม่ของท่าน คือนำเด็กชาย 21 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่ เกาะบราวน์ซี เป็นเวลา 9 คืน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม ถึงเช้าวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2450 โดยท่านรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรม
          
ภายหลังจากการทดลองอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซีแล้ว ในปี พ.ศ. 2501 บี.พี. ได้รีบเรียบเรียงและจัดพิมพ์หนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นออกจำหน่าย ให้ชื่อว่า "Scouting For Boys" ซึ่งนายอภัย จันทวิมล ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายวิชาการได้แปลไว้ว่า "การลูกเสือสำหับเด็กชาย" หนังสือเล่มนี้ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการลูกเสือ สาระสำคัญของการลูกเสือ คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ คติพจน์ลูกเสือ รหัสและการแสดงความเคารพของลูกเสือ การจับมือซ้ายแบบลูกเสือ เครื่องแบบของลูกเสือ และแนวการฝึกอบรมลูกเสือด้วยวิธีต่างๆ เช่น ระบบหมู่ การเล่นเกมส์ การร้องเพลง และการเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรม เป็นต้น
          
ปัจจุบัน วงการลูกเสือทั่วโลกถือว่าการทดลองอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี เป็นการเริ่มต้นของการลูกเสือโลก และถือว่า บี.พี. เป็นบิดาแห่งลูกเสือโลก

การประชุมลูกเสือโลกครั้งแรก

         
ในปี พ.ศ. 2463 มีการประชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่ โอลิมเปีย ในกรุงลอนดอน ในปี พ.ศ. 2463 มีการประชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่ โอลิมเปีย ในกรุงอน ประเทศอังกฤษ มีลูกเสือประมาณ 1,050 คน จาก 20 ประเทศที่เข้าร่วม จากนั้นทุกๆ 4 ปี ประเทศสมาชิกก็ได้รับเป็นเจ้าภาพงานชุมนุมอันยิ่งใหญ่นี้ โดยประเทศไทยก็ได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20  ณ หาดยาว จ.ชลบุรี และ ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในงานชุมนุมฯครั้ง 21 ซึ่งถือเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลอง 100 ปี ลูกเสือโลกอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2463 มีการประชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่ โอลิมเปีย ในกรุงอน ประเทศอังกฤษ มีลูกเสือประมาณ 1,050 คน จาก 20 ประเทศที่เข้าร่วม จากนั้นทุกๆ 4 ปี ประเทศสมาชิกก็ได้รับเป็นเจ้าภาพงานชุมนุมอันยิ่งใหญ่นี้ โดยประเทศไทยก็ได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20  ณ หาดยาว จ.ชลบุรี และ ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในงานชุมนุมฯครั้ง 21 ซึ่งถือเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลอง 100 ปี ลูกเสือโลกอีกด้วย

                                                            ประวัติลูกเสือไทย



การลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่อาฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง 
          
จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายลิขิต สารสนอง